วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis)

เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
S = STRENGTH
หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W= WEAKNESS
หมายถึง จุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O= OPPORTUNITY
หมายถึง โอกาศซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T= THREAT
หมายถึง อุปสรรค์ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง

ความเห็นเกี่ยวกับ SWOT

การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) มีประโยชน์อย่างมากต่อองค์กรทำให้ผู้บริหารสามารถที่จะวางแผนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บริการ จะต้องรู้ว่าองค์กรของตนนั้นมีจุดเด่นจุดด้อยอะไรบ้าง ต้องรู้ในส่วนของโอกาสที่จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรและอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อองค์ และเมื่อทราบถึงสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ ขององค์กรแล้วก็นำเอาข้อมูลเหล่านั้นมาทำการวิเคราะห์เพื่อวางแผนที่จะจัดการกับปัญหาและการสร้างโอกาสให้กับองค์กร ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถที่จะแข่งขันกับคู่แข่งภายใต้สภาพแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ ได้

ตัวอย่างของการนำ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมไปใช้งาน

ป้าแขกอยู่หมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งประกอบอาชีพขายกล้วยทอด ซึ่งกล้วยทอดของป้าแขกนั้นขายดีมากจึงเป็นที่ชื่นชอบของคนในหมู่บ้าน แต่ป้าแขกมีปัญหาคือปริมาณของกล้วยทอดนั้นมีปริมาณไม่พอขายเนื่องจากกล้วยที่ป้าแขกใช้ป้าแขกปลูกเองซึ่งบางครั้งก็สุกไม่ทันแต่หากต้องการที่จะได้กล้วยมาทอดขายนั้นก็สามารถทำได้จากการไปซื้อที่ตลาดซึ่งอยู่ไกลจากหมู่บ้านมาก
หากนำ SWOT มาทำการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมได้ดังนี้
S = STRENGTH จุดแข็งคือ ความอร่อย ป้าแขกทำกล้วยทอดได้อร่อย ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าทั่วไป ต่อมาคือความสะอาดที่ป้าแขกได้ใช้ในการทอดกล้วยแขกคือภาชนะ และเปลี่ยนน้ำมันในการทอดกล้วยแขกทุกวันและ ความสะอาดของอาหารทำให้กล้วยทอดขายดี
W= WEAKNESS จุดด้อยก็คือป้าแขกขายกล้วยเพียงคนเดียวทำให้บางครั้งก็ขายไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า
O= OPPORTUNITY โอกาสของป้าแขกคือป้าแขกเป็นคนในหมู่บ้านซึ่งมีพื้นเพเป็นคนในพื้นที่จึงเป็นที่รู้จักอย่างดีของคนในหมู่บ้านทำให้การเรียกลูกค้ามาซื้อกล้วยทอดได้เป็นอย่างดี
T= THREAT อุปสรรคของป้าแขกคือหากป้าแขกต้องการที่จะซื้อกล้วยที่ตลาดแต่ต้องพบกับอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง และกล้วยที่ป้าแขกปลูกนั้นบางครั้งก็ถูกแมลงทำลายจนเสียหาย

มีวิธีการวางแผนในการทำช้าง คือ

1. รวบรวมวัสดุอุปกรณ์
2. ออกแบบวิธีการทำช้างว่าจะออกมาในรูปแบบอย่างไร
3. เมื่อตกลงกันแล้วก็แบ่งงานให้สมาชิกแต่ละคน
4. เริ่มทำงานตามที่ตนได้รับ
5. นำชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบกัน
6. ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงาน

จะนำวิธีการทำงานในการสร้างช้างมาใช้ในการทำงานที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่มเพราะจากการทำช้างได้จะเห็นได้ว่าต้องคิดเร็วทำเร็วเพื่อให้สามารถทำช้างได้ตามเวลาที่กำหนดก็เหมือนกับการทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จตามเวลาที่กำหนดและต้องอาศัยความสามัคคีภายในทีมจึงจะทำให้งานสำเร็จได้

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

1. แสดงความคิดเห็นการประยุกต์ใช้เครือข่ายสังคมคอมพิวเตอร์เพื่่อการเรียนการสอน กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จากบทความหรืองานวิจัยดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นการปรับการเรียนการสอนให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีความทันสมัยมีความก้าวหน้าในด้านการศึกษาและผมเห็นว่าเป็นการดีที่จะมีการเรียนการสอนในแบบดังกล่าวและจะดีมากถ้าหากว่านำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนแบบเดิมและนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักเรียนเนื่องจากเครือข่ายสังคมคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงได้ง่ายทั้งผู้ที่สนใจเรื่องดังกล่าวก็สามารถที่จะเข้าหาค้นหาความรู้ทั้งยังมีข้อดีในเรื่องของค่าใช่จ่ายที่ต่ำมากลดการใช้ทรัพย์พยากรที่ไม่จำเป็น
แต่เนื่องจากเป็นระบบสาธารณบางรูปแบบยังมีข้อจำกัดในบางประการเช่นถ้าหากนักศึกษาต้องการที่จะส่งงานซึ่งต้องอาศัยการอัปโหลดข้อมูลดังนั้นการส่งการบ้านหรือไฟล์ต่างๆ ไม่สามารถทำได้เนื่องจากระบบไม่รองรับการทำงานดังกล่าว

2. โครงการที่สอดรับกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ. 2552 - 2556

โครงการที่จะนำเสนอคือ
พัฒนาระบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนที่อยู่ห่างไกล
เหตุผลที่นำเสนอแผนดังกล่าวคือ
เนื่องจากปัจจุบันที่โรงเรียนที่อยู่ตามจังหวัดต่างๆโดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่นอกเขตเมืองยังขาดอุปกรณ์ทางด้าน IT เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เพียงพอ และยังขาดบุคลากรที่ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งยังเป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบกับเด็กนักเรียนที่อยู่ตามเมืองใหญ่ และในโรงเรียนตามชานเมืองและในโรงเรียนต่างๆ ยังไม่มีวิชาคอมพิวเตอร์ที่เป็นรูปแบบที่แน่นอน เหมือนกลับกลุ่มวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ทำให้การเรียนการสอนในระดับประถมหรือมัธยมไม่มีความชัดเจน ซึ่งหากดูในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมากและเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฉบับที่ 2 ที่ว่าประชาชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเพื่อเป็นการสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน และ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยุทธศาสตร์ที่ 6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิชา Strategic Management

1. จุดเด่น ของระบบ ICT ม.อุบล
1. อุปกรณ์เครื่องมือด้าน ICT ครบถ้วน
2. มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง(ในบางที่)
3. มีระบบเครือข่ายภายในองค์กรที่มีคุณภาพคือเข้าถึงทุกส่วนขององค์กร
4. มีอาจารย์ที่มีความรู้ทางด้าน ICT คอยให้คำปรึกษา
5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้ประโยชน์จาก ICT เช่นระบบลงทะเบียน
6. ระบบ ICT ช่วยให้นักศึกษาสามารถติดตามข่าวสารหรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เช่น ระบบ REG
7. ระบบใช้งานง่าย
8. ระบบมีความรวดเร็วถูกต้อง
9. ระบบมีความเสถียรภาพเมื่อต้องใช้กับนักศึกษาเป็นจำนวนมาก
10. นักศึกษาสามารถส่งงานที่ได้รับมอบหมายหรือติดตามบทเรียนผ่านทางระบบ E-learning
จุดด้อย ของระบบ ICT ม.อุบล
1. นักศึกษายังไม่ใช้คุณสมบัติของระบบ ICT อย่างเต็มที่
2. ระบบอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยยังจำกัดความเร็วในบางพื้นที่
3. ระบบ ICT บางระบบเช่น E-learning ของบางคณะไม่สามารถใช้งานได้
4. ระบบของบางคณะยังไม่ค่อยอัปเดทข้อมูล
5. ระบบอินเทอร์เน็ตบล็อกพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อบางพอร์ตทั้งที่บางพอร์ตเกี่ยวข้องกับการศึกษา
6. หน้าตาของระบบบางตัวไม่ค่อยหน้าใช้คือมีแต่ตัวหนังสือ
7. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ถึงแม้จะมีครบแต่บางเครื่องก็เก่าความเร็วต่ำ
8. เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณบางเครื่องไม่สามารถใช้งานได้
9. คุณสมบัติของระบบ ICT เช่น REG ยังมีข้อจำกัดในเรื่องคุณสมบัติบางอย่าง เช่นกระดานโต้ตอบกับอาจารย์เจ้าของรายวิชา
10. เว็บไซต์ของแต่ละคณะไม่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้

2. strategic คือการตัดสินใจวางแผนอย่างมีระบบ มีทิศทางมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน อาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของทุกฝ่าย